Friday, 26 April 2024

 “ตาร์ตัน” ลายสก็อต

ปก  “ตาร์ตัน” ลายสก็อต

อย่างที่ทราบกันดีว่าเสื้อผ้าในยุคปัจจุบันมีหลายแบบให้เราเลือกใส่กัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยยังคงนิยมใส่เสื้อลายสก็อตหรือฝรั่งจะเรียกว่าลายตารางหมากรุก แต่ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านอย่างเราจะเรียกว่าเสื้อตัดอ้อย เป็นแฟชั้นที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย โดยนำผ้าลายตารางแบบนี้ไปประยุกต์ออกแบบเป็นเสื้อในแบบต่าง ๆ ที่เราเห็นกันได้อยู่ทุกวัน ได้แก่ แจ็คเก็ต รองเท้า หมวกต่าง ๆ เป็นต้น แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่าเสื้อสก็อตแบบนี่มีที่มาได้อย่างไร มาจากสก็อตแลนด์ตามชื่อเสื้อรึเปล่า วันนี้ treemusketeers จะมาเล่าไขข้อสงสับถึงความเป็นมาของเสื้อลายสก็อตนี้กันนะคะว่ามันมีที่มาได้อย่างไรกัน

ตาร์ตัน (Tartan) หรือลายสก็อต เป็นลวดลายอย่างหนึ่งที่เกิดจากการตัดกันระหว่างแถบในแนวตั้งและแนวนอน ที่มีสีแตกต่างกันไป ทำให้เกิดลวดลายที่มีลักษณะคล้ายตารางจัตุรัสขนาดเล็กใหญ่สลับกันไป โดยทั่วไปแต่ละแถบจะประกอบด้วยเส้นกลาง มีแถบขนาดใหญ่ด้านข้างขนาบเส้นกลาง และก็จะมีเส้นขอบในแนวขนานกับเส้นกลางทั้งสองฝั่งอีกที

การแมทกับลาย

ลวดลายตาร์ตันมีความเป็นมายาวนานมาก อาจจะย้อนหลังไปได้ถึงยุคเหล็ก (Iron age) หลายพันปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว มีการค้นพบผ้าทอที่มีลวดลายคล้ายแบบตาร์ตันทั้งในยุโรปกลาง และบริเวณแอ่งทาริม (Tarim) ในมณฑลซินเจียงของจีน มีอายุประมาณ 5-6 ร้อยปี แสดงว่าในเวลานั้นการทอผ้าลวดลายตาร์ตันคงเป็นที่รู้จักกันทั้งในยุโรปและเอเชียดีแล้ว ในบันทึกของโรมันได้กล่าวว่า ชาวเคลต์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสไปจนถึงเกาะอังกฤษ นิยมสวมเสื้อผ้าลายขวางที่มีสีสันสดใส

คำว่า “ตาร์ตัน” ที่ใช้เรียกลวดลายแบบนี้นั้น มีบางแห่งกล่าวว่ามาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Tartarin  ซึ่งหมายถึงเสื้อผ้าของชาวเผ่าตาร์ตาร์ หรือชาวมองโกลที่เข้ามารุกรานยุโรปในช่วงปลายยุคกลาง แต่บางแห่งก็ว่าคำนี้มาจากภาษาแกลิกสก็อต (Scottish Gaelic)  tarsainn ซึ่งแปลว่า ลายขวาง (across) สำหรับในอเมริกามักจะเรียกว่า plaid

ผ้าลายตาร์ตันจะเป็นที่นิยมในสก็อตแลนด์มาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่อย่างน้อยก็น่าจะตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มาแล้ว เพราะปรากฏว่าในปลายศตวรรษนั้นได้มีการออกแบบผ้าลวดลายตาร์ตันออกมาเป็นจำนวนหลายแบบ นักเขียนชาวสก็อตแลนด์ชื่อ มาร์ติน มาร์ติน (อย่างงนะฮะ มาร์ตินแรกเป็นชื่อตัว มาร์ตินหลังเป็นนามสกุล) ได้เขียนหนังสือชื่อ A Description of the Western Islands of Scotland ในปี 1703 โดยอาศัยลวดลายบนผ้าในการแยกแยะว่ามาจากภาคใดของสก็อตแลนด์ และเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 4 ได้เป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนนครเอดินเบรอะในปี 1822 ก็ทำให้ความนิยมในผ้าลวดลายตาร์ตันแพร่หลายเข้ามาในอังกฤษ และกระจายต่อไปยังส่วนอื่นของโลก

แฟชั่นลายสก็อต

ทุกวันนี้มีผู้นำลวดลายตาร์ตันมาประยุกต์เป็นรูปแบบที่แตกต่างกันไปมากมาย เฉพาะที่มีการรวบรวมและขึ้นทะเบียนเอาไว้ก็มีประมาณ 3500-7000 แบบ ในอดีตลายตาร์ตันจะนิยมใช้ในการทอผ้าสำหรับทำผ้าผืนใหญ่เช่นคิลต์ (หรือผ้านุ่งแบบสก็อตที่เคยเล่าไปแล้ว) แต่ปัจจุบันมีการพิมพ์ลายบนพื้นผ้าแทนการทอ มีการนำมาใช้เป็นลวดลายของผ้าเช็ดหน้า เน็คไท ผ้าห่ม รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อีกมากมาย

ในปัจจุบันมีเสื้อผ้าลายสก็อตหลากหลายแบบท้องตลอดให้เราเลือกใส่กัน แล้วนิยมทำเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นในแบรนด์ต่าง ๆ เช่น MC, Levi’s หรือ Burberry เป็นต้น แถมเป็นที่นิยมในหมู่ตลอดมือสองชอบนำมาประมูลขายกันในราคาสูงอีกด้วย โดยเฉพาะแบรนด์ที่เขียนว่า Made in USA จะมีราคาสูงกว่า Made in อื่น ๆ เพราะหาซื้อยาก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสมที่เล่นเสื้อวินเทจ

สนับสนุนโดย ufabet8.win