ถั่วชนิดต่างๆ มีประโยชน์มากมายเกินตัว จะใช้กินเล่นๆ หรือจะนำไปเป็นส่วนผสมของขนมและอาหารต่างๆ ก็ได้หลากหลายเมนู ที่สำคัญนั้น คุณค่าทางอาหารที่ได้จากถั่วยังล้นเหลือ ซึ่งในถั่วแต่ละชนิดก็มีสารอาหารที่แตกต่างกันไป วันนี้ treemusketeers มีความรู้ดีๆ มาแนะนำสำหรับคนที่จะหันมาเลือกกินถั่วเพื่อสุขภาพของตัวเอง
ถั่วเหลือง มีโปรตีนชั้นดีที่เข้มข้นจนนำไปทำเป็นเต้าหู้, เต้าหู้ยี้, เต้าฮวย, น้ำเต้าหู้ หรือแม้แต่เนื้อสัตว์เทียมได้ ของดีเหนือชั้นในถั่วเหลืองอีกก็คือ “พฤกษฮอร์โมน” ที่มีประโยชน์ช่วยอาการวัยทองโดยธรรมชาติ นอกจากนั้นถั่วเหลืองยังถือว่าเป็นอาหาร “บำรุงสมอง” ชั้นดีเพราะมีสาร “เลซิทิน (Soy Lecithin)” อีกด้วย
ถั่วเขียว หรือบางทีเรียก “ถั่วทอง” มีโปรตีนอยู่สูงเช่นกันครับ โดยถั่วเขียวเป็นแหล่งรวมกรดอะมิโนหลากหลายที่ร่างกายนำไปใช้ได้โดยตรง ได้แก่ กรดกลูตามิก, ไลซีน, ลิวซีน รวมถึง “อาร์จินีน (Arginine)” ที่ช่วยสุขภาพหลอดเลือดในหนุ่มๆ ได้ ส่วนสาวๆ ที่ชอบทานวุ้นเส้นซึ่งคือ ส่วน “แป้ง” ของถั่วเขียว ขอให้ทานกำลังดีจะไม่อ้วน
ถั่วแดงหลวง มีที่มาอันเป็นมงคลเพราะเป็นพันธุ์พระราชทาน ในทางอาหารถือว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งเส้นใยช่วยสุขภาพป้องกันมะเร็ง มีส่วนของเส้นใยที่อุ้มน้ำพองในท้องทำให้อิ่มเร็วและอิ่มได้ทน จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ส่วนในสีที่เข้มนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิด “โพลีฟีนอลส์” อยู่ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
ถั่วดำ เป็นถั่วที่เราคุ้นเคยกันดีในขนมไทยๆ เช่นเดียวกับในเกาหลีที่มีซอสถั่วดำทำจาจังมยอน (หมี่ราดซอสดำ) ถั่วดำมีโปรตีนสูงแต่กรดไขมันไม่มากนัก และเป็นชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ต้องเสี่ยงอ้วนมากไป แต่ได้อารมณ์อิ่มพอดี ต่างประเทศจึงมีการใช้สูตรถั่วดำกับเต้าหู้ช่วยลดน้ำหนัก นอกจากนั้นถั่วดำยังมีธาตุเหล็กสูงช่วยโลหิตจางได้ด้วย
ถั่วขาว เป็นถั่วชื่อดังในหมู่ผู้อยากลืมพุง เพราะถั่วขาวถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดอ้วนหลายชนิด โดยมีชื่อที่คุ้นหูคือ “สารสกัดถั่วขาว” ซึ่งสารตัวนี้มีชื่อว่า “ฟาซิโอลามีน (Phaseolamin)” โดยจะไปยับยั้งการย่อยแป้งที่คอยสร้างความอวบ แต่กระนั้นการกินถั่วขาวอย่างเดียวไม่อาจลดน้ำหนักได้ ต้องคุมอาหารกับออกกำลังด้วย
ถั่วลิสง มีหลายผลิตภัณฑ์ให้เลือกทั้งถั่วบนศีรษะ เอ๊ย…ถั่วแขก, ถั่วต้มตักขาย หรือถั่วลิสงคั่วแบบเคี้ยวกรอบเพลินดี แต่ไม่ว่าจะถั่วแบบไหนก็ให้ผลลัพธ์คือมันสนุกเหงือก เพราะถั่วลิสงมีน้ำมันชนิดดีบรรจุอยู่ครับ นอกจากนั้นยังมี “วิตามินอี” ช่วยบำรุงผิวพรรณอีกด้วย
ถั่วลันเตา เป็นถั่วสีสวย เอามาทำอาหารได้หลายอย่าง สันนิษฐานว่ามาจาก “ห่อหลั่นเตา” คือ ถั่วฮอลแลนด์ ถั่วลันเตามีสรรพคุณสำคัญคือ ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิว และบำรุงกระดูกได้ดีจาก “เบต้าแคโรทีน” ที่มีอยู่ในสีเขียวสดกับแคลเซียมที่มีมากกว่าถั่วฝักยาวถึง 4 เท่า นอกจากนั้นยังเหมาะกับท่านที่ความดันสูงเพราะมี “โพแทสเซียม” สูงช่วยปรับความดัน
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นแหล่งของวิตามินบี ที่ช่วยรักษาเส้นประสาทและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของร่างกาย ตลอดจนเสริมความต้านทานต่อความเครียด และยังมีแร่ธาตุสำคัญสำหรับสุขภาพภูมิคุ้มกัน รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระซีลีเนียมที่จำเป็นต่อการผลิตแอนติบอดี และสังกะสีซึ่งใช้ต่อสู้กับไวรัส ยับยั้งเซลล์มะเร็ง แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
อัลมอนด์ เป็นแหล่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง ในอัลมอนด์ 100 กรัม จะมีวิตามินอี 24 มิลลิกรัม และยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุแคลเซียมที่ป้องกันไวรัสได้อีกด้วย อัลมอนด์ยังมีเลทริลที่เชื่อว่าเป็นสารประกอบที่ต่อสู้กับเนื้องอกได้อย่าง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีสังกะสีสูง ช่วยสร้างความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันและทำให้แผลหายเร็ว อัลมอนด์เต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ให้คุณค่าทางสารอาหาร จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้
แมคคาเดเมีย หลายคนยกให้เป็นถั่วที่รสชาติอร่อยที่สุดในโลกเช่นกัน จนได้ชื่อว่าราชาแห่งถั่ว มีต้นกำเนิดจากออสเตรเลีย มีแหล่งปลูกใหญ่อยู่ที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในถั่วที่ปลูกยากมาก เพราะเป็นต้นที่ละเอียดอ่อน ต้องการการเอาใจใส่อย่างมาก ในเมืองไทยปลูกได้ดีที่โครงการพัฒนาดอยตุง ส่วนด้านโภชนาการ แมคคาเดเมียช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ดี และมีโปรตีน วิตามินที่ดีกับร่างกายหลายชนิดด้วย
ถั่วมีผลดีต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมี สาเหตุจากพันธุกรรม และพฤติกรรม พฤติกรรมที่สำคัญได้ การออกกำลังกาย อ้วน และการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน มัน เค็ม แต่อาหารที่สามารถป้องกันโรคหัวใจโดยเฉพาะ ถั่ว เช่น ถั่ว almonds, walnuts, hazelnuts และ macadamias หากรับประทานประจำจะลดอุบัติการณ์ของ โรคหัวใจได้ร้อยละ 30-50 ถั่วกับโรคอ้วน แม้ว่า ถั่ว จะมีส่วนประกอบสำคัญคือไขมัน แต่การรับประทาน ถั่ว โดยยึดหลักการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และกำหนดมิให้ได้รับพลังงานเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ปริมาณไขมันที่มีใน ถั่ว fiber ที่อยู่ใน ถั่ว จะทำให้คนที่รับประทานอาหารอิ่มไม่อยากรับประทานอาหารอื่น
เราจะเพิ่มการรับประทานถั่วได้อย่างไร
การรับประทาน ถั่ว มากพอประมาณจะช่วยป้องกันโรคดังกล่าว ดังนั้นการวางแผนรับประทานอาหารจำพวก ถั่ว จึงมีความจำเป็นทั้งนี้เพื่อ ป้องกันมิให้อ้วน โดยเราอาจจะรับประทาน ถั่ว เป็นอาหารว่าง เราจัดถั่วเป็นอาหารหมวดที่ให้โปรตีน ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกถั่วจะต้องลดพวกเนื้อสัตว์ลงตามส่วน ลดไขมันอื่นที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำสลัดใช้อย่างใสที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงของทอด หลีกเลียงกะทิ
สนับสนุนโดย vip168sa.pro