ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache) เป็นการปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น
Migraine (ไมเกรน) ทางการแพทย์ได้จำแนกอาการปวดศีรษะออกเป็น 3 ประเภท (ICHD-II 2004) คือ
1.ปวดศีรษะปฐมภูมิ (Primary headaches) ได้แก่ ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache) ไมเกรน (Migraine headache) และอื่นๆ ซึ่งเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังที่เป็นๆหายๆ โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆจากการตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพวินิจฉัยสมอง แต่สามารถวินิจฉัยได้จากประวัติอาการปวดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
2.ปวดศีรษะทุติยภูมิ (Secondary headaches) อาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรค หรือ สาเหตุต่างๆมากมาย โรคที่พบบ่อย เช่น ภาวะไข้ปวดหัว เป็นหวัด ปวดฟัน ตาแดง หูอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ตลอดจน โรคที่พบน้อยแต่มีอันตราย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง และ เลือดออกในสมอง เป็นต้น
3.กลุ่มอาการปวดจากเส้นประสาทสมองและอาการปวดใบหน้า (Cranial neuralgias.Central and Primary facial pain and other headaches) เป็นโรคที่พบได้น้อยกว่า ลักษณะอาการปวด จะปวดเฉพาะที่ตามตำแหน่งของเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งโรคกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการปวดศีรษะไมเกรนเกิดจากอะไร แต่ treemusketeers จะพามาดูว่าปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายประการ ได้แก่ อะไรบ้าง
– การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
– ความเครียด
– สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
– การใช้ยาบางชนิด
– การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป
– ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
– การสูบบุหรี่
– อาการถอนคาเฟอีน
– การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
การใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน
การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
– ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ Paracetamol
– ยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
– ยากลุ่ม Triptans ได้แก่ Sumatriptan, Eletriptan
– ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ Ergotamine + Caffeine ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide, Domperido
วิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน
– ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
– หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
– นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
– ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
– ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาการปวดศีรษะไมเกรนสามารถบรรเทาและป้องกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา อย่างไรก็ดี การเริ่มรับประทานยาบรรเทาปวดทันทีหลังจากที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้ยานั้นควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ โรคประจำตัว และความรุนแรงของโรค จะส่งผลต่อการเลือกใช้ยาและขนาดยาที่ควรได้รับนั่นเอง
สนับสนุนโดย ufa678.club