Friday, 19 April 2024

หิ่งห้อย แมลงเรืองแสง

ปก หิ่งห้อย แมลงเรืองแสง

หิ่งห้อย“มีลักษณะเด่น สามารถทำ”แสง”ได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย “แสงเย็น”และ”เรืองแสง” ชวนน่ามองอย่างยิ่ง เวลาที่เหมาะกับการชมคือ ในคืนเดือนมืดและช่วงพลบค่ำเพราะเห็นแสงของ”หิ่งห้อย”ได้อย่างชัดเจน วันนี้ treemusketeers จะพามารู้จักแมงมีแสงตัวนี้กันค่ะ

“หิ่งห้อย” เป็นแมลงปีกแข็ง ทั่วทั้งโลกมี”หิ่งห้อย”ประมาณ 2,000 ชนิด

“หิ่งห้อย” กะพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกันหรือส่งสัญญาณการป้องกันตัวจาก”สัตว์นักล่า”

แสงที่”หิ่งห้อย”สร้างเป็น “แสงเย็น” โดยทั่วไปจากช่องท้องส่วนล่างอาจเป็นสีเหลือง  สีเขียวหรือสีแดงซีด ตำแหน่งของอวัยวะแสงยังแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดและเพศของ”หิ่งห้อย”ชนิดเดียวกัน

“หิ่งห้อย” พบได้ในเขตหนาว เขตอบอุ่นและเขตร้อนยกเว้นเขตขั้วโลกและกึ่งขั้วโลก พบมากในหนองน้ำ ป่าโกงกาง หรือป่าริมธารน้ำ ซึ่งมีแหล่งอาหารมากมายสำหรับ”หิ่งห้อย” ระยะตัวอ่อน หนอนของ”หิ่งห้อย”กินหอยฝาเดียวเป็นอาหาร

ลักษณะทางชีววิทยา

“หิ่งห้อย”ตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัวหนอน หนอนของ”หิ่งห้อย”เป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็ก ๆ เป็นอาหาร

“หิ่งห้อย”มีลักษณะเด่นคือสามารถทำ”แสง”ได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ ทำ”แสง”ได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น ขนาดของ”หิ่งห้อย”นั้นมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2-25 มิลลิเมตร ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก

การให้แสง

การให้แสงใน”หิ่งห้อย”เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า การเรืองแสงทางชีวภาพ กระบวนการนี้เกิดขึ้นในอวัยวะที่เปล่งแสงโดยเฉพาะแสงที่”หิ่งห้อย”สร้างเป็น”แสงเย็น”คือ ไม่มีความถี่แสงช่วงอินฟราเรดหรือัลตราไวโอเลต

แสงที่ผลิตเกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้จากช่องท้องส่วนล่างอาจเป็นสีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน โดยมีความยาวคลื่น 510 ถึง 670 นาโนเมตร “หิ่งห้อย”บางชนิด พบที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาปล่อยแสงสีออกฟ้า

ถึงปัจจุบันจากการศึกษา”หิ่งห้อย” ตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เรืองแสงและตำแหน่งของอวัยวะทำแสงแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดและระหว่างเพศของ”หิ่งห้อย”ชนิดเดียวกันรูปแบบของ”หิ่งห้อย”ที่เปล่งแสงแตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์

หิ่งห้อย

โดยทั่วไป”หิ่งห้อย” มีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1-3 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว ภายในปล้องมีเซลล์ขนาดใหญ่เรียกว่า”โฟโตไซต์”(photocytes) อยู่จำนวน 7,000 – 8,000 เซลล์เรียงกันอยู่เป็นกลุ่มรูปทรงกระบอกหลายกลุ่มภายใต้ผนังลำไส้ใส

เซลล์โฟโตไซต์จะเป็นที่ทำให้เกิดแสง มีท่ออากาศและเส้นประสาท เข้าไปหล่อเลี้ยงจำนวนมากเกือบทุกปล้องแสงของ”หิ่งห้อย”เกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับก๊าซออกซิเจน  มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส และแมกนีเซียมไอออนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง

การให้สัญญาณโดยการทำแสงหรือการปล่อยสารเคมียังช่วยให้”หิ่งห้อย”สามารถระบุคู่ของสายพันธุ์ของมันเองได้ ลักษณะการสื่อสารด้วย”แสง”มีความแตกต่างในด้านระยะเวลา ช่วงเวลาของวัน สี และรูปแบบการกะพริบ และแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่การเลือกคู่ครองจะกระตุ้นให้เกิดความแตกต่างของรูปแบบการส่งสัญญาณที่มากขึ้น

“หิ่งห้อย”ที่บินส่วนใหญ่มักเป็นตัวผู้ ส่วน”หิ่งห้อย”ตัวเมียนั้นชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ เพื่อรอดูว่าตัวผู้ตัวไหนที่ทำแสงได้ดีกว่าตัวอื่นและเข้าไปหาเพื่อผสมพันธุ์

“หิ่งห้อย”ในเขตร้อนมักจะประสานแสงกะพริบในกลุ่มใหญ่โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยสามารถพบหิ่งห้อยจำนวนมากที่กระพริบแสงพร้อมกันในเวลากลางคืนในพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ระหว่างหมู่บ้านศรีเมือง และบ้านปากลัด ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

สนับสนุนโดย ufabet8.win