Monday, 25 March 2024

ดอกไม้ไฟ มาจากไหน ?

ปก-ดอกไม้ไฟมาจากไหน

treemusketeers จะพามาดูวิวัฒนาการดอกไม้ไฟ หรือพลุ เป็นสัญลักษณ์แห่งเทศกาลเฉลิมฉลองที่มีอายุหลายร้อยปี แต่ก็ยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้ชม และยังเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างเคมีและฟิสิกส์อีกด้วย เทศกาลปีใหม่เป็นอีกหนึ่งเทศกาลเฉลิมฉลองที่จำเป็นต้องมีนางฟ้าของงานอย่างพลุหรือดอกไม้ไฟตระกาลตาที่ระเบิดกลางท้องฟ้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการต้อนรับการเริ่มต้นปีใหม่อีกครั้ง

ดอกไม้ไฟคืออะไร ?

ดอกไม้ไฟ หรือ พลุ (Firework) เป็นสิ่งประดิษฐ์ในลักษณะของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาให้สามารถควบคุมการระเบิดและปรากฏให้เห็นเป็นสีสันที่สดใส ซึ่งดอกไม้ไฟจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน 4 ลักษณะ ได้แก่ แสง เสียง ควัน และวัสดุลอยตัว (เช่น เศษกระดาษสีสันที่ใช้โปรยในงานรื่นเริง) มักใช้เพื่อจุดประสงค์ด้านความบันเทิงในเทศกาลเฉลิมฉลองทางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ เกือบทั่วทุกมุมโลก

ดอกไม้ไฟถูกคิดค้นขึ้นในยุคกลางของจีนในช่วงศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประดิษฐ์ดินปืน (หนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ของจีน) จุดประสงค์เริ่มแรกใช้จุดเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจที่มารังควาญ ก่อนที่จะใช้เพื่อกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญอย่าง วันตรุษจีน เป็นต้น ทั้งนี้จีนยังเป็นผู้ส่งออกดอกไม้ไฟรายใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

การแสดงพลุ

พลุ ประทัดและดอกไม้ไฟ มีวิวัฒนาการอย่างไร

ปัจจุบัน การเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ จะมีการจุดพลุ ประทัดและดอกไม้ไฟที่เดี๋ยวนี้วิวัฒนาการมากขึ้นเรื่อย ๆ มีทั้งพลุดอกไม้ไฟเป็นสีสันหรือรูปร่างต่าง ๆ และบางครั้งก็มีการแสดงการจุดดอกไม้ไฟประกอบเสียงดนตรีตามแต่โอกาสด้วย แต่ใครกันแน่ที่เป็นต้นคิดประดิษฐ์พลุ ประทัดและดอกไม้ไฟเหล่านี้

ถ้าจะย้อนประวัติศาสตร์การประดิษฐ์ดอกไม้ไฟ ก็ต้องย้อนไปที่จีนในยุคก่อนคริสตกาลก่อนที่มนุษย์จะรู้จักดินปืนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตพลุ ประทัดจีนหรือดอกไม้ไฟเสียอีก ตอนนั้นยังไม่มีการประดิษฐ์พลุหรือดอกไม้ไฟจริง ๆ จะมีก็เพียงกระบอกไม้ไผ่สีเขียวอวบอ้วนที่มนุษย์ใช้เป็นเชื้อไฟซึ่งถ้าโยนเข้าไปในกองเพลิงเมื่อไหร่ กระบอกไม้ไผ่ก็จะร้อนฉ่าไหม้เกรียม แล้วก็ระเบิดเปรี๊ยะ ๆ คล้ายเสียงประทัดจีนที่เรารู้จักกันในยุคนี้

ความที่ต้นไผ่เติบโตแทงยอดขึ้นฟ้าได้อย่างรวดเร็ว อากาศและน้ำหล่อเลี้ยงก็จะติดอยู่ในไผ่แต่ละปล้อง ดังนั้นเมื่อถูกความร้อน อากาศกับน้ำหล่อเลี้ยงก็จะขยายตัวและระเบิดแตกออกมา เสียงแปลก ๆ ของลำไผ่ที่ดังเปรี้ยะ ๆ เมื่อโดนความร้อนนี้ คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนก็พากันหวาดกลัว แต่ว่าชาวจีนในยุคนั้นคิดว่าแม้แต่มนุษย์ที่ว่าแน่ ๆ ยังหวาดหวั่นเจ้าเสียงประหลาด แล้วทำไมบรรดาภูตผีวิญญาณทั้งหลายถึงจะไม่เกรงกลัว

คนจีนสมัยนั้นเชื่อว่าเสียงจากลำไผ่อวบอ้วนนี้น่าจะช่วยขับไล่วิญญาณพเนจร โดยเฉพาะ Nian ซึ่งเป็นวิญญาณร้ายที่ชอบกัดกินพืชไร่สร้างความเสียหายแถมยังหลอกลวงมนุษย์ด้วย เพราะฉะนั้นในทุกเทศกาลเฉลิมฉลองสำคัญอย่างปีใหม่ แต่งงานและวันเกิด คนจีนจะจุดกองไฟโดยใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิงเพื่ออาศัยเสียงแปลกประหลาดตอนที่กระบอกไม้ไผ่ที่โดนความร้อนแล้วแตกเปรี้ยะ ๆ ให้ช่วยขับไล่ภูตผีวิญญาณร้ายไม่ให้มาก่อนกวน

ดอกไม้ไฟ

ดอกไม้ไฟในเมืองไทย

สำหรับเมืองไทย ย้อนไปในยุคสุโขทัยก็มีการจุดดอกไม้เพลิงโบราณกันแล้ว นายสิทธา สลักคำ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 ผู้เขียนหนังสือดอกไม้เพลิงโบราณ เล่าให้ฟังว่าหลักฐานที่เห็นได้ชัดคือบันทึกในหลักศิลาจารึก

“หลักศิลาจารึกบันทึกไว้ว่าเมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เพียย่อมคนเบียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยมีดังจั๊กแตก เมื่อการกล่าวเช่นนี้พอจะขยายความได้ว่าการเล่นไฟ พูดถึงการเล่นคือความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้เข้าชม แสงสีดอกไม้เพลิงเบียดเสียดเยียดยัดเข้ามาในพระราชฐาน ทั่วสารทิศก็เข้ามาชม นี่คือการเล่นไฟ” นายสิทธากล่าว นายสิทธา บอกด้วยว่ามีข้อสันนิษฐานจากสิ่งแวดล้อมบางอย่าง คือที่สุโขทัย มีภูเขาสูงชื่อ เขาหลวง อยู่ห่างจากเมืองเก่าไปประมาณ 6 กิโลเมตร บนยอดเขามีลานกว้างที่เรียกว่าพญาพุ่งเรือ ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ตรงกับชื่อไฟโบราณของไทยชนิดหนึ่ง จึงเป็นแง่คิดได้ว่าในยุคสุโขทัยน่าจะมีการเล่นไฟกันแล้ว พอมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ นายสิทธาบอกว่าคำว่าเล่นไฟ ไม่มีแล้ว แต่กลับมีคำว่าจุดดอกไม้เพลิงแทนและมีหลักฐานการเรียกชื่อตัวไฟต่าง ๆ มากมายหลายประเภทซึ่งทำให้ทราบว่าการจุดดอกไม้เพลิงนั้นได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับประเพณีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์

สนับสนุนโดย 123faz.pro