การแก้ปัญหาค่าสายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สามารถทำได้ด้วยการใช้ แว่นสายตา ใช้คอนแทคเลนส์ หรือใช้การแก้ปัญหาด้วยวิธีเลเซอร์ ที่หลายคนนิยมเรียกว่า “การทำเลสิค (LASIK)”
การทำเลสิคมีข้อดี คือ ไม่ต้องวุ่นวายกับการสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ทำให้มีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น สะดวกในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางชนิด และยังเหมาะกับคนที่จำเป็นต้องทำงานบางประเภท ที่มีข้อกำหนดห้ามใส่แว่นสายตา
นอกจากนี้ การทำเลสิคสำหรับบางคนที่เคยใช้แว่นสายตามาก่อน ถือเป็นการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้อีกด้วย ใครสนใจ วันนี้ treemusketeers จะมาอธิบายการทำเลสิคอย่างละเอียดกัน
เลสิค คืออะไร
การทำเลสิค (Lasik) คือ ชื่อเรียกโดยรวมของการปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis เปรียบได้กับการเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด สามารถแก้ไขสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก
เลสิค รักษาสายตาผิดปกติใดได้บ้าง
คนไข้ที่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการทำเลสิคได้ เป็นผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ดังนี้
– สายตาสั้น (Myopia) คนไข้ที่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาที่โค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป
– สายตายาว (Hyperopia) คนไข้จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (แบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป หรือหากเป็นสายตายาวตามวัย มักจะมาจากสาเหตุของกล้ามเนื้อตาที่เสื่อมสภาพลงตามวัย
– สายตาเอียง (Astigmatism) คนไข้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะมีการหักเหของแสงที่ตกกระทบโฟกัสที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน
– สายตาสั้นด้วย และมีสายตายาวตามวัยด้วย อาการนี้เกิดจากกระบวนการสายตาสั้นตามปกติ ซึ่งเกิดจากกระจกตาโค้งเกินไปหรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้มองไกลได้ไม่ชัด แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้หักเหแสงของกระจกตาเริ่มเสื่อมลง จึงไม่มีกำลังมากพอที่จะบีบกระจกตาให้โป่งออกเป็นเลนส์นูนได้เหมือนเดิม ทำให้มองใกล้ได้ไม่ชัด กรณีเช่นนี้ สามารถรักษาด้วยการทำเลสิคได้เช่นกัน
ทำเลสิค มีกี่แบบ
1.PRK (Photorefractive Keratectomy)
PRK (Photorefractive Keratectomy) คือ เป็นวิธีแก้ไขสายตารุ่นแรกสุด แต่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ขั้นตอนการรักษาจะไม่แยกชั้นกระจกตา แต่จะลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด (Epithelium) ออกก่อน แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับความโค้งของกระจกตาอีกที ก่อนจะปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์นาน 5-7 วันเพื่อลดอาการระคายเคืองตา ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
2.เลสิคใบมีด (Lasik)
เลสิคใบมีด (Microkeratome LASIK, Blade LASIK, หรือ LASIK) คือ เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสูง โดยใช้ใบมีดที่มีขนาดเล็กเปิดฝากระจกตาขึ้น ก่อนใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการ แล้วปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิม ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
3.เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK)
เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK) คือ วิธีการรักษาที่ใช้เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในขั้นตอนการเปิดฝา กระจกตา จากนั้นจะปรับแต่งความโค้งของกระจกด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) เรียกได้ว่าใช้เลเซอร์เป็นหลักตลอดการรักษา โดยไม่ต้องใช้ใบมีดเปิดฝากระจกตา (Bladeless LASIK) จึงให้ความแม่นยำและความปลอดภัยที่ดีกว่าการทำเลสิคแบบใช้ใบมีด ระยะเวลาในการผ่าตัด 30 นาที
4.เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx Smile)
เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx Smile) หรือ Refractive lenticule extraction – Small incision lenticule extraction คือ เทคโนโลยีล่าสุดในการแก้ไขสายตาโดยใช้เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ซึ่งมีความแม่นยำสูง
เทคนิคดังกล่าว ไม่ต้องเปิดฝากระจกตาเพื่อแยกชั้นเหมือนวิธีเลสิคใบมีด แต่จะใช้เลเซอร์ตัดเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเลนส์ แล้วดึงออกผ่านแผลซึ่งมีขนาดเล็กเพียงประมาณ 2-4 มม. จึงเป็นเทคนิคที่รบกวนกระจกตาน้อยมาก ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
ข้อแนะนำ: ไม่มีเทคนิคการทำเลสิคประเภทไหนที่ดีที่สุดโดยสมบูรณ์ แต่ละเทคนิคจะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป และยังเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
คนไข้แต่ละคนต้องมาตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา บางคนสภาพตาดีมากสามารถเลือกทำได้ทุกวิธี แต่บางคนทำได้แค่บางวิธีเท่านั้น เพราะฉะนั้นการตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุด ทั้งนี้ แพทย์จะให้ข้อมูลว่าคนไข้ทำวิธีไหนได้บ้าง และให้คนไข้เป็นผู้ตัดสินใจเลือก
สนับสนุนโดย pgslot99th.club