Saturday, 7 September 2024

11 ข้อห้าม ของผู้สูงวัย 65 ปี

01 Jan 2023
358

ปก 11 ข้อห้าม ของผู้สูงวัย 65 ปี

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุร่างกายย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา ซึ่งแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ โรคหรือความเจ็บป่วย ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งอาหาร อาชีพ ความเครียด การนอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นการรู้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเพื่อจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง

1) อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)

ปัญหาสุขภาพจิตคือปัญหาสำคัญในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้ามีโอกาสเป็นได้มากกว่าวัยอื่น เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและบทบาทในสังคม อาทิ ผมขาว ผิวหนังเหี่ยวย่น นั่งและยืนนาน ๆ ไม่ได้ เป็นต้น หากผู้สูงอายุรับไม่ได้กับภาวะที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้เกิดอาการเบื่อหน่าย หมดกำลังใจ ขาดความรัก รู้สึกว่าไม่มีคุณค่าและไม่มีใครต้องการ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตผู้สูงอายุที่ใกล้ชิด หากมีภาวะแยกตัว เบื่อหน่าย หรือทุกข์ใจ ไม่ควรละเลย รีบปรึกษาแพทย์ทันที และควรหมั่นให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของครอบครัว เพื่อป้องกันผู้สูงอายุจากภาวะซึมเศร้า รวมถึงการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางด้านอารมณ์กับแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้รับมือได้อย่างเข้าใจ

 

2) การล้ม (Fall)

การล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยสูงอายุ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้ม 28 – 35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32 – 42% โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ไปเข้าห้องน้ำ เนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อเกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรดูแลใส่ใจและหมั่นสังเกตการทรงตัวของผู้สูงอายุ หากเกิดการล้มควรให้อยู่ในท่าเดิมและรอผู้ชำนาญการมาทำการเคลื่อนย้ายเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง และแม้จะบาดเจ็บไม่มากก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอีกครั้ง

ผู้สูงวัย

 

3) สมองเสื่อม (Alzheimer’s Disease)

ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการรู้คิด (Cognitive Function) ซึ่งเป็นกระบวนการรับรู้ เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากสมองทำหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม เสื่อมลงจากการที่อายุมากขึ้น โรคต่าง ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึมเศร้า โรคทางระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกันดังนั้นการกระตุ้นการรู้คิดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จึงมีประโยชน์อย่างมาก เช่น จับคู่ภาพ ทายคำ เป็นต้น

ผู้สูงวัย 65ขึ้นไปที่ควรรับรู้ และปฏิบัติในชีวิตประจำวันอเมริกามีผลสำรวจออกมาว่าทุกปี ผู้สูงอายุ 2 หมื่นคน หรือเกิน 51% จะประสบอุบัติเหตุถึงตาย จากการหกล้ม หรือเกี่ยวเนื่องกับการขึ้นบันได ฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงขอเตือนผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปห้ามปฏิบัติ 11 ข้ออันตรายดังต่อไปนี้.

– ห้ามปีนบันได ก็คือ ขึ้นที่สูง ให้ระวัง

– ห้ามรีบหันหน้าอย่างรวดเร็ว

– ห้ามก้มตัวมองหลังเท้า ก็คือ ก้มมองพื้น หรือก้มตัวต่ำๆ

– ห้ามยืนใส่กางเกง หรือควรหาที่ยืนพิงใส่กางเกง

– ห้ามวิดพื้น

– ห้ามบิดลำตัว

– ห้ามเดินถอยหลัง

– ห้ามก้มตัวยกของหนัก ควรย่อเข่าลงค่อยยกของขึ้น

– ห้ามรีบลุกจากเตียงทันที ตื่นแล้วลืมตา 3 นาที ลุกนั่งบนเตียงก่อน 3 นาที ค่อยลุกยืนอีก 3 นาที ค่อยเดินเพื่อปรับร่างกายให้เข้าที่ก่อนจะได้ตั้งสติให้ไม่มึนงง

– ห้ามออกแรงขับถ่าย หรือเบ่งขับถ่ายนานๆ จะทำให้ธาตุไฟในร่างกายแตกได้ ถ้าถ่ายไม่ออก ก็พักไว้ถ่ายวันอื่น โดยกินผักผลไม้ หรือยาขับถ่าย

– อากาศร้อน กลับเข้าบ้านไม่ควรรีบดื่มน้ำเย็นทันที ควรให้ร่างกายปรับอุณหภูมิเข้าที่ก่อน 30 นาที ค่อยดื่มถ้ากระหายมาก ก็ดื่มน้ำเปล่า ที่ไม่แช่เย็น อมไว้ในปากค่อยๆกลืนทีละคำจนหมด หรือค่อยๆจิบทีละคำ

นี่คือ 11 ข้อห้ามของผู้สูงวัย 65 ปี ขึ้นไปควรรับรู้ และปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะได้อายุยืนเป็นขวัญและกำลังใจให้ลูกหลานได้เคารพนับถือตลอดไป

สนับสนุนโดย pgslot888th.pro