Friday, 29 March 2024

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง

23 Dec 2022
277

ปก อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

  1. ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  2. ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  4. รับประทานอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
  5. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  6. พันธุกรรม

เอาชนะอุปสรรคด้วยการเลือกอาหาร

-เลี่ยงรับประทานไขมันสัตว์  เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังเป็ดพะโล้ ก้นไก่ ก้นเป็ด มันไก่ หากจะรับประทานไก่ ให้เลือกส่วนอก และควรลอกหนังออก ใช้เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย คือ ปลา และไก่ไม่ติดหนัง (เลือกทานไก่บริเวณอก)

-เลี่ยงรับประทานไขมันจากน้ำมะพร้าวแก่ เช่น กะทิข้น ควรงดแกงเผ็ดใส่กะทิ แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงกะหรี่ ฯลฯ ข้าวซอยใส่กะทิ ก๋วยเตี๋ยวแกง (แขก) ฯลฯ ควรใช้กะทิเทียม (ทำจากน้ำมันรำข้าว) หรือนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยแทน

-กะทิ สำหรับขนมใส่กะทิ (จากมะพร้าว) เช่น กล้วยบวชชี ขนมปลากริมไข่เต่า บัวลอย แกงบวดต่างๆ สาคูเปียก เต้าส่วน สามารถใช้กะทิเทียมหรือกะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทนได้เช่นเดียวกัน

อาหารที่เหมาะสมของผู้ป่วยที่ไขมันในเลือดสูง

-เลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง  เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต มันสมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน สำหรับเครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย จำกัดครั้งละ 2-3 ชิ้น

-เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ เช่น มันไก่ มันหมูมาหลอมเป็นน้ำมันเพื่อปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวเป็นหลักในการผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป และใช้น้ำมันพืชอื่นๆ บ้าง

-เลี่ยงแหล่งไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมพัฟและพาย มันฝรั่งทอด (French fried) น้ำมันทอดซ้ำ

-ลดอาหารที่เติมน้ำตาล ทั้งขณะปรุงประกอบอาหาร หรือเติมขณะกินอาหาร ขนมหวานจัด เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลได้จากฉลากโภชนาการ)

-เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับ     ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (หากเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มไม่เกิน 1 ดริ้งต่อวัน ได้แก่ เบียร์ 1 กระป๋อง หรือเหล้า 45มิลลิลิตร หรือ ไวน์ 150 มิลลิลิตร)

-เลี่ยงการสูบบุหรี่

อาหารที่ไม่ไฟเบอร์สูง

-เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย

-เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลานึ่งกับผัก ปลาย่าง มะเขือเผา(ไม่ไหม้) อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย แทน อาหารผัดน้ำมันนองจาน อาหารทอดอบน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด

-เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง (อย่างไรก็ตาม ไขมันชนิดโอเมก้า 3 จัดเป็นไขมันชนิดหนึ่งในผู้ที่รับประทานในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้)

-เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ (นมพร่องมันเนย) แทนนมสดครบส่วน

-เลือกรับประทานไอศกรีมไขมันต่ำหรือเชอเบท แทนไอศกรีมกะทิและไอศกรีมที่ทำจากนมและครีม

สนับสนุนโดย ufa6556.pro